โรคเริม โรคที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย
เริมเป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งของผิวหนังและเยื่อเมือกต่าง ๆ ทำให้มีลักษณะพุขึ้นเป็นตุ่มใสเล็ก ๆ แล้วแตกเป็นแผล ตกสะเก็ด ซึ่งหายได้เอง แต่มักกำเริบซ้ำและเป็น ๆ หาย ๆ ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมักมีอาการกำเริบได้บ่อยและรุนแรงกว่าปกติ ส่วนในเด็กทารกและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ อาจมีอาการรุนแรง โดยเชื้อสามารถแพร่เข้าสู่กระแสเลือดกระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคเริมจัดเป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในคนวัยหนุ่มสาวและวัยผู้ใหญ่ ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้ใกล้เคียงกัน การติดเชื้อครั้งแรกมักเกิดขึ้นในวัยเด็กเป็นส่วนใหญ่
ลักษณะอาการ
มักจะมีอาการแสบ ๆ คัน ๆ นำมาก่อนเล็กน้อย แล้วมีตุ่มน้ำใสขนาด 2-3 มิลลิเมตร ขึ้นอยู่กันเป็นกลุ่มโดยรอบจะเป็นผื่นแดง ต่อมาตุ่มน้ำใสนี้ก็จะกลายเป็นสีเหลืองขุ่น แล้วแตกกลายเป็นสะเก็ดหายไปได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์(เร็วสุด 3 วัน) ตำแหน่งที่พบบ่อย ได้แก่ ริมฝีปาก แก้ม จมูก หู ตา ก้น และอวัยวะสืบพันธุ์
อาการแทรกซ้อน
ส่วนใหญ่โรคเริมมักหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แล้วอาการอาจกำเริบขึ้นเป็นครั้งคราว มีเพียงส่วนน้อยที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น ตุ่มหรือแผลกลายเป็นหนองพุพองจากการอักเสบซ้ำของเชื้อแบคทีเรีย ถ้าเริมขึ้นที่ตาอาจทำให้กระจกตาอักเสบ(Keratitis) ถึงกับทำให้สายตาพิการได้ ถ้าเกิดในหญิงระหว่างตั้งครรภ์ เชื้ออาจผ่านเข้าไปยังทารก ทำให้ทารกพิการตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้ ผู้หญิงที่เป็นเริมที่อวัยวะเพศ อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น
วิธีการดูแล และป้องกัน
เนื่องจากผู้ติดเชื้อเริม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อซ้ำ ผู้ป่วยมักไม่มีอาการแสดง แต่สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้อยู่ โดยเชื้ออาจมีอยู่ในน้ำตา น้ำลาย คอหอย อวัยวะเพศ ทวารหนัก ท่อปัสสาวะ การป้องกันการติดเชื้อเริมจึงเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะไม่มีทางแยกออกได้ว่าใครบ้างที่เป็นผู้ติดเชื้อ อย่างไรก็ตามเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
1. หลีกเลี่ยงการเที่ยวหญิงบริการ (ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมถุงยางอนามัยด้วยทุกครั้ง)
2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผล หรือน้ำลายจากผู้ป่วยโรคผิวหนัง
3. หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น จานชาม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า มีดโกน เป็นต้นฯ
4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้งห้าหมู่ในทุก ๆ วัน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และทำให้จิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส/หลีกเลี่ยงความเครียด
5. ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเริม แต่กำลังมีการศึกษาคิดค้นกันอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นโรคที่พบได้บ่อย
สมุนไพรที่ใช้รักษา
1. ใบเสลดพังพอนตัวเมีย หรือเรียกอีกชื่อว่า “พญายอ”
ใช้ใบเสลดพังพอนตัวเมียสด ๆ 15-20 ใบ มาตำผสมกับเหล้า แล้วนำมาใช้ทาที่บริเวณแผล วันละ 2-3 ครั้ง
2. น้อยหน่า
ผลแห้งของน้อยหน่ามีสรรพคุณเป็นยาแก้งูสวัดได้ชะงัด โดยนำผลน้อยหน่าแห้งนำมาฝนกับฝาละมีหม้อดินเผา แล้วผสมน้ำกับสารส้มเล็กน้อยจากนั้นจึงนำมาทาผิวหนังก็จะช่วยแก้โรคเริมและงูสวัดได้
3. ผักเชียงดา
ผักเชียงดามีลักษณะเป็นไม้เถาเลื้อย เถาสีเขียว สามารถช่วยแก้ปวดแสบปวดร้อน โดยนำใบสดมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นงูสวัดหรือเริม
4. มะรุม
สมุนไพรชนิดนี้สามารถใช้รักษาโรคเริมและงูสวัดได้ โดยน้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุมสามารถนำมาทาผิวหนังรักษาโรคผิวหนัง โรคเริม และงูสวัดได้
5. ใบย่านาง
ใบย่านางเป็นสมุนไพรรสจืด เป็นยาเย็น มีฤทธิ์ดับพิษและลดไข้ ตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยจะใช้รากย่านางเป็นยาช่วยในการรักษาโรคเริม งูสวัด
6. รางจืด
ใบและรากรางจืดมีสรรพคุณเป็นยาต้านการอักเสบ ช่วยบรรเทาอาการผื่นแพ้ต่าง ๆ เช่น ผดผื่น แมลงกัดต่อย เริม อีสุกอีใส งูสวัด
บริษัท แฉล้ม & ทิพย์เกสร ขอแนะนำ
ยาใช้ภายนอก : สเปรย์สมุนไพรเสลดพังพอน สะดวกใช้ง่าย ที่มีสารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ เช่น เสลดพังพอน ว่านมหากาฬ ข่อยดำ ใบเขยตาย ทองพันชั่ง บรรเทาอาการแพ้ แก้คัน ผดผื่น ลมพิษ อีสุก อีใส ประดง เริม งูสวัด ไฟลามทุ่ง แพ้พิษพืชและแมลง บำรุงรากผม และลดการหลุดร่วงของเส้นผมอีกด้วย
บริการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญ ฟรี!!
ยินดีให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
line : @tgs1932
facebook : ทิพย์เกสร สมุนไพร tipgaysorn
เบอร์โทรศัพท์ : 035-581-909 , 062-319-7899 , 064-991-9638
แหล่งอ้างอิง
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2523). เริม Herpes simplex (พิมครั้งที่ 2 ). กรุงเทพฯ : เรือนเเก้วการพิมพ์.
เรียบเรียงโดย : ศิลธนา แม้นจิตร