ดินแดนแห่งขุนเขา ป่าหนึ่งเดียวที่สมบูรณ์ที่สุดของเมืองสุพรรณ เป็นชายป่าผืนสุดท้ายของป่าห้วยขาแข้ง เป็นสถานที่ที่เหมาะกับ นักเดินทางที่หลงใหลในธรรมชาติ ความเงียบสงบ ป่าเขา น้ำตก ความงดงามงามของดวงอาทิตย์ยามเช้า ไอหมอก ความหนาวเย็น และวิถีชีวิตของชนชาวกะเหรี่ยง
วันเสาร์นี้ CHALAEM : แฉล้ม ขอพาสาวๆทุกท่านล่องลอยไปกับที่เที่ยวหน้าหนาวและได้สัมผัสกับอากาศเย็น เดินป่า ขึ้นเขา ชมความงามของยอดเขาเทวดากันนะคะ นั่นก็คือ“อุทยานแห่งชาติพุเตย”ค่ะจะรอช้าอยู่ไยเก็บกระเป๋าสะพายเป้ไปกันเลย…
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขต อุทยาน
ป่าสนสองใบธรรมชาติ
หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ พุเตยที่ 1
มีประมาณกว่า 1,300 ต้น อยู่บนเทือกเขาพุเตยเป็น ป่าแปลกมหัศจรรย์เพราะป่าสนจะเจริญเติบโตในพื้นที่ภูเขาสูงชัน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป แต่ป่าสนแห่งนี้เจริญเติบโตบนพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเพียง 763 เมตรเท่านั้นสภาพป่าสมบูรณ์มาก จนได้รับเลือกให้เป็นศูนย์แม่พันธุ์ไม้สนสองใบใน ภาคกลาง บางต้นมีขนาดใหญ่วัดได้ถึง 2-3 คนโอบ ห่างจากที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ 1 (พุเตย) ประมาณ 12 กิโลเมตร
หมู่บ้านกะเหรี่ยงตะเพินคี่
หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ พุเตยที่ 3 ตะเพินคี่
เป็นป่าที่สวยงาม และเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านกะเหรี่ยง ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยมากว่า 200 ปี ผืนป่า และต้นน้ำตะเพินคี่ ยังคงสภาพสมบูรณ์ เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงผจญภัยล่องไพร เป็นดินแดนแห่งความหนาวเย็น ในหน้าหนาวอุณหภูมิจะลดลง 5-6 องศา C
ยอดเขาเทวดา
ยอดเขาเทวดาที่ความสูงกว่า 1000 เมตร ในวันที่อากาศเหมาะสม นักท่องเที่ยวอาจจะได้ชมทะเลหมอกที่สวยงาม และไปยืนจุดที่เป็น ดินแดนรอยต่อของสามจังหวัด สุพรรณบุรี-อุทัยธานี-กาญจนบุรี การเดินทาง หน้าฝนควรเป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ส่วนหน้าแล้งรถยนต์นั่งธรรมดาก็สามารถไปได้ แต่ควรเป็นรถกระบะ
น้ำตกตะเพินคี่น้อย
เป็นน้ำตกขนาดเล็กอยู่ใกล้กับหมู่บ้านตะเพินคี่ มีน้ำไหลตลอดปี เป็นความงดงามทางธรรมชาติ ที่คนภายนอกไม่ค่อยได้มีโอกาสไปสัมผัส เหมาะสำหรับผู้ที่รักการเดินทางแบบผจญภัยเล็กๆ
น้ำตกตะเพินคี่ใหญ่
เป็นน้ำตกขนาดเล็กมีสองชั้น ความสูงประมาณชั้นละ 5-6 เมตร มีน้ำไหลตลอดปี
เพราะเป็นต้นน้ำและบ่อน้ำผุด ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และยังมีถ้ำที่สวยงามที่ยังอยู่ระหว่างการสำรวจ
วนอุทยานถ้ำเขาวง, ถ้ำพุหวาย
จาก อ.ด่านช้าง ไปทาง อ.บ้านไร่-บ.สะนำ แยกซ้ายไปวนอุทยานฯ ห่างจากที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ 1 (พุเตย) รวมระยะทาง 52 ก.ม. ผ่านวัดถ้ำเขาวง
สถานที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวก และการเตรียมตัว
อุทยานแห่งชาติพุเตย มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว และสถานที่กางเต็นท์สะอาด นักท่องเที่ยวควรเตรียมอุปกรณ์ในการพักแรมไปด้วย เช่น เต็นท์ ถุงนอน เปลสนามฯลฯ แต่หากนักท่องเที่ยวประสงค์จะค้างแรมใน กรณีที่ไม่ได้เตรียมอุปกรณ์พักแรมไปด้วย ทางอุทยานฯ ได้ปรับปรุงบ้านพักราชการไว้เป็นห้องพักรับรองนักท่องเที่ยวชั่วคราว และมีเต็นท์ให้บริการ อาหารควรเตรียมไปเอง นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปกางเต็นท์บนเข้าสนได้ ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ข้างบนจะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก
สถานที่กางเต็นท์มี 3 จุดใหญ่ๆ ได้แก่
หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ พุเตยที่ 1 (ด้านวังคัน-ป่าขี)
อยู่ห่างจากอำเภอด่านช้าง ประมาณ 33 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 333 เดินทางจากอำเภอด่านช้างถึงบ้านวังคัน ประมาณ 15 กิโลเมตร และเลี้ยวซ้ายที่สามแยกบ้านวังคัน ถึงบ้านป่าขี (เส้นทาง 4302) ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่ออีก 3 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอดเส้นทาง *** รถทุกชนิดสามารถเข้าไปได้
ระยะทาง กรุงเทพ – หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ 1(พุเตย-ป่าขี) 210 ก.ม.
ค่าพิกัด GPS 14.961748, 99.477546
ที่ทำการอุทยานฯพุเตย (พุเตย-ห้วยหินดำ)
จากหน่วยพิทักษ์อุทยานฯที่ 1 ตรงไปตามทางลูกรัง ผ่านศาลเลาดาห์ และทางขึ้นเขาสน
*** (ถนนบางช่วงเป็นหลุมบ่อ ควรเป็นรถกระบะ) ระยะทาง 15 ก.ม.
หรือ ถ้ามาจากกรุงเทพ ก่อนถึง อ.ด่านช้าง แยกซ้ายเข้าเส้นทาง หมายเลข 3086 ถึงสี่แยกบ้านปลักประดู่ เลี้ยวขวาผ่าน – ทุ่งมะกอก – ห้วยหินดำ……ตามป้ายไปจนถึงที่ทำการฯ
เป็นทางลาดยางตลอดเส้นทาง *** รถทุกชนิดสามารถเข้าไปได้
ระยะทาง กรุงเทพ – ที่ทำการอุทยานฯพุเตย (พุเตย-ห้วยหินดำ) 240 ก.ม.
ค่าพิกัด GPS 14.946786, 99.415875
หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ พุเตยที่ 3 ตะเพินคี่ (ด้านปลักประดู่-ตะเพินคี่)
จากอำเภอด่านช้าง เดินทางไปบ้านบ้านปลักประดู่ (เส้นทาง 3086) – บ้านวังยาว ไปบ้านกล้วยป่าผาก (ทางลาดยาง) เลี้ยวซ้ายขึ้นเขาอีกประมาณ 14 ก.ม. *** (สภาพถนนเป็นทางลูกรังขรุขระ และเป็นทางขึ้นเขาสูงชัน ควรเป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อในหน้าฝน และรถกระบะในหน้าแล้ง)
หมู่บ้านกระเหรี่ยงตะเพินคี่ อยู่ติดเขตแนวกันชนมรดกโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ระยะทาง กรุงเทพ – หมู่บ้านกระเหรี่ยงตะเพินคี่ (หน่วยพิทักษ์อุทยานที่ 3) 260 ก.ม.
ค่าพิกัด GPS 14.946690, 99.416606
ขอขอบคุณที่มา http://www.suphan.biz/Phutoeinationalpark.htm