บรมครูแพทย์แผนไทย
แพทย์แผนไทยทุกคนจะรักและเคารพบูชาปู่ชีวกโกมารภัจจ์มาก ท่านเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของแพทย์แผนไทยทุกคน ท่านเป็นหมอประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า คำกล่าวของท่านคือ “ทุกสรรพสิ่งในโลกล้วนเป็นยา” และท่านได้รจนาคัมภีร์แพทย์ศาสตร์ ส่งต่อมาจนถึงปัจจุบัน 2500 กว่าปี ให้แพทย์แผนไทยในปัจจุบันได้ศึกษาเป็นแนวทางในการช่วยเหลือรักษาเพื่อนมนุษย์
ที่บ้านหมอติ ก็มีรูปปั้นของปู่ ไว้กราบไหว้บูชา และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ปู่ชีวกโกมารภัจจ์ ที่บ้านหมอติ ท่านศักดิ์สิทธิ์นะ หมอติมีน้องชายแถวบ้านมาช่วยทำยาตั้งแต่ยังวัยรุ่น จนถึงคราวเกณฑ์ทหาร แต่ไม่อยากไปเป็นทหาร จึงมาขอพรปู่ ให้จับได้ใบดำ แล้วจะช่วยทำยาตลอดชีวิต และผลก็ได้ใบดำจริง ๆ จนทุกวันนี้ได้เป็นผู้จัดการฝ่ายผลิตไปแล้ว และมีเด็ก ๆ รุ่นต่อ ๆ มาก็ได้เป็นผลอีก 2 คน
ใครที่มีลูกยาก ก็มาขอพรท่าน และหมอติก็จ่ายยาให้ไปกิน แล้วก็มีลูกสมใจ ยังกลับมาแซวหมอเลยว่า ยาหมอติดีจริง ๆ เอาไปตั้งบนโต๊ะทำงาน ยังไม่ได้กินเลย ก็ติดลูกแล้ว อืม…ยาดีจริง ๆ
คนสมัยนี้แต่งงาน แล้วรอให้พร้อม ถึงจะมีลูก ก็ใช้วิธีคุมกำเนิดสารพัด ทำงานหาเงินเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัวจนเครียด ถึงเวลาพร้อมที่จะมีลูก มดลูกมันก็สกปรก อายุก็เยอะขึ้น และเครียดกับการหาเงินจนต่อมใต้สมองไม่สมบูรณ์พอ ก็มีลูกยากจริง ๆ ก็ไม่ยากหรอก สมุนไพรช่วยได้
ตลอดชีวิตหมอติที่ผ่านมา เป็นแต่หมอช่วยรักษาคนไข้ ไม่รู้หรอกว่าการตลาด คืออะไร ทำอย่างไร ใครมารักษาก็คิดค่ายาตามสมควร ยาตัวไหนถูกก็ขายถูก ยาตัวไหนหายาก ราคาแพง เวลาคิดเงินมันก็แพงหน่อย จนยาสมุนไพรบางตัว คนไทยจะไม่มีปัญญากินแล้ว อย่างชะมดเช็ด ที่เป็นส่วนผสมสำคัญในยาหอมไทย กิโลกรัมละ 300,000 – 500,000 บาท แล้วแต่ฤดูกาล อำพันทอง หญ้าฝรั่น จะไม่มีปัญญากินแล้ว อย่าดูถูกยาไทยเชียวนะ ปัจจุบันนี้ ต้องคนรวยจริง ๆ ถึงจะได้กินยาหอมชั้นดี
ครูบาอาจารย์แพทย์แผนไทยของหมอติ
ตั้งแต่สมัยเด็ก ก็เริ่มซึมซับการแพทย์แผนไทย จากตาหมอมิ่ง แนบเนียน (ครูคนแรก) และป้าหมอจันทร์ แนบเนียน (ครูคนที่สอง) ได้เห็นคนป่วย ได้สัมผัสการเก็บยา ปรุงยาให้คนป่วย
(ครูคนที่สาม) พ.ศ. 2540 ได้บรรจุรับราชการกระทรวงสาธารณสุข แต่ด้วยความรักในสมุนไพร และการแพทย์แผนไทย จึงได้พบกับครูอีกท่าน คือ ครูบรรจง อินทร์พุก ซึ่งกำลังดำเนินการก่อตั้งโรงเรียนแพทย์แผนไทย ที่วัดสุวรรณภูมิ (วัดใหม่) และวัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี ครูบรรจง มีจิตวิญญาณเป็นครูผู้ให้ รักการแพทย์แผนไทยด้วยหัวใจบริสุทธิ์ ที่จะอนุรักษ์ และส่งเสริมภูมิปัญญาให้คนรุ่นหลัง ถ่ายทอดวิชาความรู้ที่มีอย่างไม่หวงวิชา
(ครูคนที่สี่) พ.ศ. 2540 ตอนปลายปี ต้องการหาความรู้เพิ่มเติม และเรียนในสถาบันที่มีชื่อเสียงด้านการแพทย์แผนไทย จึงไปสมัครมอบตัวศิษย์ กับ ครูวิเชียร บุญเส็ง ที่วัดโพธิ์ ท่าเตียน
(ครูคนที่ห้า) พ.ศ. 2546 ได้พบกับ ครูวัชระ หมื่นสุวรรณ คลินิกการแพทย์แผนไทยไชโย จังหวัดลพบุรี ผู้ที่เป็นแบบอย่างด้านการทำคลินิกการแพทย์แผนไทย ซึ่งทั่วประเทศยังมีน้อยมาก หมอวัชระ บอกว่า “อะไรดีก็รับไป อะไรไม่ดีก็วางไว้” ได้ไปช่วยงานเรื่องการเรียบเรียงเสียงประสาน “เพลงยาขอหมอวาน” แต่งคำร้องโดย แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ขับร้องโดยศิลปินแห่งชาติ คนสุพรรณฯ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ณ ห้องบันทึกเสียงของหมอวัชระ และได้เอาแบบอย่างมาก่อตั้ง คลินิกศรีประจันต์การแพทย์แผนไทย เมื่อ พ.ศ. 2547
(ครูคนที่หก) พ.ศ. 2546 ช่วงที่ไปช่วยเรียบเรียงเสียงประสาน ให้ห้องบันทึกเสียงของหมอวัชระ เริ่มจะทิ้งวิชาการแพทย์แผนไทยไปนาน ก็ได้ไปขอเรียนกับ ครูเรวัติ พรหมหล่อ ที่วัดชีป่าฯ จังหวัดลพบุรี
(ครูคนที่เจ็ด) พ.ศ. 2547 ลาออกจากราชการ มาก่อตั้งคลินิกศรีประจันต์การแพทย์แผนไทยจึงคิดหาความรู้การแพทย์จากหมอพื้นบ้าน ในวิชารักษาฝีมะเร็งเพิ่มเติม เพื่อมาช่วยคน จึงเดินทางไปเรียนกับ ครูจำรัส ธรรมชาติ เป็นครูเขมร ที่จังหวัดสระแก้ว
เล่าโดย คุณหมออนุสิฐษ์ แฉล้ม (คุณหมอติ)
อ่านตอนต่อไป กว่าจะมาเป็น ทิพย์เกสรและแฉล้ม